ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร เดือนมิถุนายน 2567


         
1. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร
      ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ระดับ 104.88 ลดลง ร้อยละ 6.28 จากเดือนมิถุนายน 2566
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 111.90 เนื่องจากสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตลดลง ได้แก่ ยางพารา ทุเรียน สับปะรด ลองกอง
มังคุด และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และลำไย
      ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 (ที่อยู่ระดับ 115.70) ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลง ร้อยละ 9.35
โดยสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ เงาะ และไก่เนื้อ ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
ด้แก่ กุ้งขาวแวนนาไม

 
 
  

 
2. ดัชนีราคาสินค้าเกษตร
      ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ณ เดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ระดับ 170.06 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.64
จากเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 150.98
      เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 (ที่อยู่ระดับ 164.13) ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.61


  
 
2.1 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2566
•  สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
   - ยางพารา ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้จากทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (ยางล้อรถยนต์ไฟฟ้าใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตมากกว่ายางล้อรถยนต์ทั่วไป)
   - ทุเรียน ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านผลผลิตจากภาคตะวันออกกับผลผลิตจากภาคใต้ ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการจากทั้งภายในและต่างประเทศ
   - สับปะรด ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับคุณภาพผลผลิตไม่ดี ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการของโรงงานแปรรูปที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง

•  สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
    - ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศทรงตัว ทั้งการบริโภค
อุตสาหกรรม และพลังงาน ประกอบกับคุณภาพปาล์มน้ำมันที่มีเปอร์เซ็นต์การสกัดน้ำมันลดลง


2.2 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเพฤาภาคมที่ผ่านมา
•  สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
    - ไก่เนื้อ ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดไม่เพียงพอความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
•  สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
    - กุ้งขาวแวนนาไม ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตมากกว่าความต้องการบริโภค จากสถานการณ์การนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ
ของกลุ่มผู้ประกอบการกุ้งแช่แข็ง



 
3. ดัชนีรายได้เกษตรกร
      ดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ระดับ 178.35 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.57 จากเดือนมิถุนายน 2566
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 168.95 เป็นผลมาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.64
ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ร้อยละ 6.28






 4. สรุป

       ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตรในเดือนมิถุนายน 2567 มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง
ร้อยละ 6.28 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.64 ส่งผลทำให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.57
เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2566


ตารางแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร (%YoY)  
  2565 2566 2567
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1  Q2  Q3  Q4   Q1  Q2 มิถุนายน
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร 2.23 6.48 -0.95 0.17 2.39 1.27 0.88 1.42 -2.95 -1.66 -6.28
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร 4.46 10.03 20.09 12.93 -1.21 -5.26 -1.63 0.08 5.52 10.66 12.64
ดัชนีรายได้เกษตรกร 6.79 17.17 18.95 13.12 1.15 -4.06 -0.77 1.50 2.41 8.83 5.57
หมายเหตุ: %YoY คือ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา                                                                             
  ที่มา: ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  ข้อมูล ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2567

 


 
 
 
♦ ♦ ดาวน์โหลดเอกสาร ♦ ♦

  รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร

  
Infographic TH / EN
 


รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร จะเผยแพร่ภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน ••